วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

นายร้อยตำรวจหญิง

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy : RPCA) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยระดับกองบัญชาการ ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นสถาบันหลักในการให้การฝึก ศึกษา อบรม และหล่อหลอมนักเรียนนายร้อยตำรวจและหลักสูตรนักเรียนอบรมชั้นสัญญาบัตรอื่น ๆ ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบเท่าตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ที่ศึกษาตามหลักสูตรหลักของในโรงเรียนนายร้อยตำรวจเรียกว่า "นักเรียนนายร้อยตำรวจ" (นรต.) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจจะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่ร้อยตำรวจตรี" โดยนายตำรวจสัญญาบัตรชายที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระองค์ท่านตลอดมา
 

ประวัติ[แก้]



พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ


เอกสารแสดงว่าโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจและมีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 ณ มณฑลนครราชสีมา อันเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือที่ 67/719 ลงวันที่ 19 เมษายน ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นแล้ว แต่ติดขัดเรื่องที่ในการตั้งโรงเรียน จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้งที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระบรมราชานุญาต และได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ 2 ฉบับ ฉบับแรกหนังสือที่ 59/234 ลงวันที่ 20 เมษายน ร.ศ.121 ฉบับที่ 2 หนังสือที่ 131/361 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ร.ศ.121 โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามความกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น
สำหรับประวัติสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ [1] ตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งขึ้นในประเทศไทย จนกระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งตามลำดับดังนี้
  • สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447 มีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการกองตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นคนแรก
  • สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458
  • สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464
  • สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489 ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มนับรุ่นของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งแรกเป็น นรต.รุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2480 ในขณะที่ศึกษาร่วมกับนักเรียนนายร้อยทหารบก
  • สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498
  • สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน
ซึ่ง พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เป็นผู้วางรากฐานให้ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้ง ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันโรงเรียนนายร้อยตำรวจบริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551[2] และ ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ สถาบัน ศูนย์ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2552[3]

หลักสูตร[แก้]

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีภารกิจหลักในการให้การศึกษาอบรมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และการอบรมหล่อหลอมคุณลักษณะความเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรให้แก่ผู้ที่เข้ารับการศึกษาอบรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งหลักสูตรหลักและเป็นหลักสูตรประจำของโรงเรียนนายร้อยตำรวจคือ "หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ"
หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ. (ตร.) ) มุ่งเน้นการศึกษาอบรมให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีวิชาความรู้และการอบรมหล่อมหลอมคุณลักษณะอันดีใน 3 ด้าน คือ
1.มีความรู้ทางวิชาการพื้นฐานของระดับปริญญาตรี
2.มีความรู้ทางวิชาชีพ ที่เป็นความรู้เฉพาะในด้านตำรวจ
3.มีบุคลิกลักษณะและมีภาวะความเป็นผู้นำตำรวจ มีคุณลักษณะทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมจะเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร และมีคุณธรรมจริยธรรม
สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาโดยตลอด
นอกจากนั้น โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

อุดมคติของตำรวจ[แก้]

เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปรานีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกองค์ที่ 16 เมื่อพุทธศักราช 2499

เพลงประจำสถาบัน[แก้]

  1. มาร์ช นรต. (เพลงมาร์ชประจำสถาบัน)
  2. มาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ (เพลงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. สามพราน
  4. สนสามพราน
  5. ขวัญดาว
  6. ลาก่อนสามพราน
  7. ลาแล้วสามพราน
  8. สามพรานแดนดาว

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
รายนามผู้บัญชาการวาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลตำรวจโท สมชาย ไชยเวชพ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534
2. พลตำรวจโท จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535
3. พลตำรวจโท นิรดม ตันตริกพ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
4. พลตำรวจโท อัยยรัช เวสสะโกศลพ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
5. พลตำรวจโท โกศล รัตนาวะดีพ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2537
6. พลตำรวจโท เขตต์ นิ่มสมบุญพ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
7. พลตำรวจโท ชิดชัย วรรณสถิตย์พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540
8. พลตำรวจโท เสรี เตมียเวสพ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2540
9. พลตำรวจโท หม่อมหลวงฉลองลาภ ทวีวงศ์พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
10. พลตำรวจโท สุนทร นุชนารถพ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545
11. พลตำรวจโท วงกต มณีรินทร์พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
12. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทองพ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547
13. พลตำรวจโท วุฒิ พัวเวสพ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2548
14. พลตำรวจโท พงศพัศ พงษ์เจริญพ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550
15. พลตำรวจโท อมรินทร์ อัครวงษ์พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2553
16. พลตำรวจโท อารีย์ อ่อนชิตพ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556
17. พลตำรวจโท ศักดา เตชะเกรียงไกรพ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

นักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

คำขวัญประจำชั้นปี[แก้]

นรต.ทั้ง 4 ชั้นปีจะมีคำขวัญของชั้นปีตนเองที่จะบ่งบอกถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย
ชั้นปีที่ 1 "ขันตีอุตสาหะ" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 1 ต้องมีความอดทนอดกลั้นและความวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้ไปจนตลอดรอดฝั่ง
ชั้นปีที่ 2 "วิจัยกรณี" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะในการวินิจฉัย พิจารณาในสิ่งต่าง ๆ รู้จักการวางตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ชั้นปีที่ 3 "รักษ์วินัย" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยอย่างดีเยี่ยม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้ถ่ายทอด ปลูกฝังความเป็น นรต.ให้แก่รุ่นต่อ ๆ ไป
ชั้นปีที่ 4 "เกียรติศักดิ์" 
หมายถึง นรต.ชั้นปีที่ 4 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง สมกับเป็นผู้ที่มีเกียรติ และเตรียมพร้อมสู่ความเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

สีประจำชั้นปี[แก้]

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย (อาคารนอน) และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

เครื่องแบบและชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
เครื่องแบบ และชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 16 แบบ ได้แก่
  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสรปิดอก
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี (มีผ้าผูกคอ)
  • เครื่องแบบฝึก
  • เครื่องแบบสนามชนิดไม่ปล่อยเอว (ฟาติก)
  • เครื่องแบบสนามชนิดปล่อยเอว (เวสต์)
  • ชุดศึกษาดูงาน (หมวกหนีบ)
  • ชุดศึกษา (หมวกแก๊ปทรงตึง)
  • ชุดฝึกยิงปืน
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม
หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ
  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน (หมวกยอด)
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี มีสายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว สายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี สายรัดคางหนังสีดำ
  • หมวกหนีบสีกากี
  • หมวกแก๊ปทรงตึง (สีประจำกองร้อย)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ (เบเร่ต์)
รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ
  • รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ (ฮาล์ฟ)
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ (คัทชู)
  • รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ (คอมแบทฝึก)
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว
ส่วนประกอบเครื่องแบบ
  • หน้าหมวกตราแผ่นดิน
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายโยงกระบี่
  • กระบี่ยาวนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรชาย พร้อมสายโยงกระบี่และขอเกี่ยวกระบี่สามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ
  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด. (ค่ายนเรศวร) ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้น
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว
  • เครื่องหมายความสามารถอื่น ๆ
อุปกรณ์ประจำกายอื่น ๆ
  • อาวุธปืนสั้น (ใช้ในการฝึก)
  • อาวุธปืนเล็กยาว ปลย.11, HK (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
  • ถุงมือ (ใช้ในการฝึกหัดปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่จราจร)
  • วิทยุสื่อสาร
  • นกหวีด
  • กุญแจมือ

หลักสูตรต่าง ๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.) สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่น ๆ ทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม, สืบสวน, จราจร, อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่าง ๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่าง ๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง[แก้]

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66) เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น