วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

โดราเอม่อน

โดราเอมอน (ญี่ปุ่นドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมว ชื่อ โดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง[3][4] โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน[5] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น[6] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[7] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น[8] นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552[9]
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[10][11] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส วิดีโอ[12]
เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของไจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ

แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)
การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น[4] แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น[4]
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดตัวในปีเดียวกัน เริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง และนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 (เดือนมกราคม ค.ศ. 1970)[4]
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันในนิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสารโชงะกุอิชิเน็นเซ(นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตรยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[13] โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[4]
และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น[4


โดราเอมอน
โดราเอม่อน ทุกคนต่างเรียกกันว่า โดเรม่อน โดราม่อน โดราจัง หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[14])
โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)
เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี
ชิซุกะ (มินาโมโตะ ชิซุกะ)
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค[15])
ซึเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส[16])
ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์[17])
โดเรมี
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)

นายร้อยตำรวจหญิง

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy : RPCA) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยระดับกองบัญชาการ ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นสถาบันหลักในการให้การฝึก ศึกษา อบรม และหล่อหลอมนักเรียนนายร้อยตำรวจและหลักสูตรนักเรียนอบรมชั้นสัญญาบัตรอื่น ๆ ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบเท่าตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ที่ศึกษาตามหลักสูตรหลักของในโรงเรียนนายร้อยตำรวจเรียกว่า "นักเรียนนายร้อยตำรวจ" (นรต.) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจจะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่ร้อยตำรวจตรี" โดยนายตำรวจสัญญาบัตรชายที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระองค์ท่านตลอดมา
 

ประวัติ[แก้]



พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ


เอกสารแสดงว่าโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจและมีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 ณ มณฑลนครราชสีมา อันเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือที่ 67/719 ลงวันที่ 19 เมษายน ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นแล้ว แต่ติดขัดเรื่องที่ในการตั้งโรงเรียน จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้งที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระบรมราชานุญาต และได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ 2 ฉบับ ฉบับแรกหนังสือที่ 59/234 ลงวันที่ 20 เมษายน ร.ศ.121 ฉบับที่ 2 หนังสือที่ 131/361 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ร.ศ.121 โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามความกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น
สำหรับประวัติสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ [1] ตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งขึ้นในประเทศไทย จนกระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งตามลำดับดังนี้
  • สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447 มีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการกองตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นคนแรก
  • สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458
  • สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464
  • สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489 ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มนับรุ่นของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งแรกเป็น นรต.รุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2480 ในขณะที่ศึกษาร่วมกับนักเรียนนายร้อยทหารบก
  • สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498
  • สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน
ซึ่ง พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เป็นผู้วางรากฐานให้ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้ง ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันโรงเรียนนายร้อยตำรวจบริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551[2] และ ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ สถาบัน ศูนย์ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2552[3]

หลักสูตร[แก้]

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีภารกิจหลักในการให้การศึกษาอบรมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และการอบรมหล่อหลอมคุณลักษณะความเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรให้แก่ผู้ที่เข้ารับการศึกษาอบรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งหลักสูตรหลักและเป็นหลักสูตรประจำของโรงเรียนนายร้อยตำรวจคือ "หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ"
หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ. (ตร.) ) มุ่งเน้นการศึกษาอบรมให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีวิชาความรู้และการอบรมหล่อมหลอมคุณลักษณะอันดีใน 3 ด้าน คือ
1.มีความรู้ทางวิชาการพื้นฐานของระดับปริญญาตรี
2.มีความรู้ทางวิชาชีพ ที่เป็นความรู้เฉพาะในด้านตำรวจ
3.มีบุคลิกลักษณะและมีภาวะความเป็นผู้นำตำรวจ มีคุณลักษณะทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมจะเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร และมีคุณธรรมจริยธรรม
สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาโดยตลอด
นอกจากนั้น โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

อุดมคติของตำรวจ[แก้]

เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปรานีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกองค์ที่ 16 เมื่อพุทธศักราช 2499

เพลงประจำสถาบัน[แก้]

  1. มาร์ช นรต. (เพลงมาร์ชประจำสถาบัน)
  2. มาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ (เพลงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. สามพราน
  4. สนสามพราน
  5. ขวัญดาว
  6. ลาก่อนสามพราน
  7. ลาแล้วสามพราน
  8. สามพรานแดนดาว

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
รายนามผู้บัญชาการวาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลตำรวจโท สมชาย ไชยเวชพ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534
2. พลตำรวจโท จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535
3. พลตำรวจโท นิรดม ตันตริกพ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
4. พลตำรวจโท อัยยรัช เวสสะโกศลพ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
5. พลตำรวจโท โกศล รัตนาวะดีพ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2537
6. พลตำรวจโท เขตต์ นิ่มสมบุญพ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
7. พลตำรวจโท ชิดชัย วรรณสถิตย์พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540
8. พลตำรวจโท เสรี เตมียเวสพ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2540
9. พลตำรวจโท หม่อมหลวงฉลองลาภ ทวีวงศ์พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
10. พลตำรวจโท สุนทร นุชนารถพ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545
11. พลตำรวจโท วงกต มณีรินทร์พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
12. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทองพ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547
13. พลตำรวจโท วุฒิ พัวเวสพ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2548
14. พลตำรวจโท พงศพัศ พงษ์เจริญพ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550
15. พลตำรวจโท อมรินทร์ อัครวงษ์พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2553
16. พลตำรวจโท อารีย์ อ่อนชิตพ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556
17. พลตำรวจโท ศักดา เตชะเกรียงไกรพ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

นักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

คำขวัญประจำชั้นปี[แก้]

นรต.ทั้ง 4 ชั้นปีจะมีคำขวัญของชั้นปีตนเองที่จะบ่งบอกถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย
ชั้นปีที่ 1 "ขันตีอุตสาหะ" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 1 ต้องมีความอดทนอดกลั้นและความวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้ไปจนตลอดรอดฝั่ง
ชั้นปีที่ 2 "วิจัยกรณี" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะในการวินิจฉัย พิจารณาในสิ่งต่าง ๆ รู้จักการวางตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ชั้นปีที่ 3 "รักษ์วินัย" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยอย่างดีเยี่ยม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้ถ่ายทอด ปลูกฝังความเป็น นรต.ให้แก่รุ่นต่อ ๆ ไป
ชั้นปีที่ 4 "เกียรติศักดิ์" 
หมายถึง นรต.ชั้นปีที่ 4 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง สมกับเป็นผู้ที่มีเกียรติ และเตรียมพร้อมสู่ความเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

สีประจำชั้นปี[แก้]

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย (อาคารนอน) และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

เครื่องแบบและชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
เครื่องแบบ และชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 16 แบบ ได้แก่
  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสรปิดอก
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี (มีผ้าผูกคอ)
  • เครื่องแบบฝึก
  • เครื่องแบบสนามชนิดไม่ปล่อยเอว (ฟาติก)
  • เครื่องแบบสนามชนิดปล่อยเอว (เวสต์)
  • ชุดศึกษาดูงาน (หมวกหนีบ)
  • ชุดศึกษา (หมวกแก๊ปทรงตึง)
  • ชุดฝึกยิงปืน
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม
หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ
  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน (หมวกยอด)
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี มีสายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว สายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี สายรัดคางหนังสีดำ
  • หมวกหนีบสีกากี
  • หมวกแก๊ปทรงตึง (สีประจำกองร้อย)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ (เบเร่ต์)
รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ
  • รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ (ฮาล์ฟ)
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ (คัทชู)
  • รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ (คอมแบทฝึก)
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว
ส่วนประกอบเครื่องแบบ
  • หน้าหมวกตราแผ่นดิน
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายโยงกระบี่
  • กระบี่ยาวนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรชาย พร้อมสายโยงกระบี่และขอเกี่ยวกระบี่สามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ
  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด. (ค่ายนเรศวร) ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้น
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว
  • เครื่องหมายความสามารถอื่น ๆ
อุปกรณ์ประจำกายอื่น ๆ
  • อาวุธปืนสั้น (ใช้ในการฝึก)
  • อาวุธปืนเล็กยาว ปลย.11, HK (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
  • ถุงมือ (ใช้ในการฝึกหัดปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่จราจร)
  • วิทยุสื่อสาร
  • นกหวีด
  • กุญแจมือ

หลักสูตรต่าง ๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ[แก้]

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.) สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่น ๆ ทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม, สืบสวน, จราจร, อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่าง ๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่าง ๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง[แก้]

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66) เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน